วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พรากผู้เยาว์

ท่านผู้อ่าน คงเคยได้ยินกันใช่ไหมคะ "พรากผู้เยาว์" จากคำแซวเล่นในหมู่เพื่อนฝูง เมื่อมีเพื่อนคนใดคนหนึ่งเกิดมีความรักกับคู่ที่ค่อนข้างจะเด็กกว่า เรามาศึกษากันจริงจังดีกว่าค่ะ ว่าคุณสมบัติแบบไหน ที่เรียกว่า "เด็ก" หรือ "ผู้เยาว์" ลักษณะแบบไหน ที่เรียกว่า "พราก"
"พราก" หมายถึง จากไป, พาเอาไปเสียจาก, แยกออกจากกัน, เอาออก จากกัน คำแปลจากพจนุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
หรือก็คือ การทำให้เด็ก หรือผู้เยาว์ห่างจากผู้ปกครอง ไม่ต้องขนาดว่าเดินจูงมือออกจากบ้านนะคะ แค่โทรชวนออกไปโดยมิได้ขออนุญาต หรือยินยอมจากผู้ปกครอง ก็คือการพรากแล้ว
"ผู้เยาว์" หมายถึง บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ซึ่งจะบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อทำการสมรส ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 19
บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 20
ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448
แต่การ "พรากผู้เยาว์" นั้นเป็นผู้ความผิดทางอาญา (แล้วจะอธิบาย พราก, ผู้เยาว์ ทำไม :P) ในมาตรา 317 318 ...อ่านต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น